logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เทคโนโลยี
  • Multiexperience การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลกดิจิทัล

Multiexperience การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลกดิจิทัล

โดย :
อชิรญา ชนะสงคราม
เมื่อ :
วันอังคาร, 18 สิงหาคม 2563
Hits
10656

          Multiexperience (ประสบการณ์ที่หลากหลาย) คือการใช้เทคโนโลยีที่มีความรอบรู้เกี่ยวกับมนุษย์ แทนที่ มนุษย์จะมีความรอบรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี หรือการเปลี่ยนบริบทจากการที่มนุษย์ต้องเข้าใจเทคโนโลยี เป็นเทคโนโลยีที่ต้องเข้าใจมนุษย์ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือว่าเทรนด์นี้เราจะได้เห็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นไปอีกขั้น จากที่เทคโนโลยีมีจุดปฏิสัมพันธ์เพียงอย่างเดียวจะกลายเป็นระบบที่สามารถให้ประสบการณ์ที่หลากหลายมากขึ้นผ่านทาง wearables และเซนเซอร์ต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ร้านพิซซ่าสามารถสร้างประสบการณ์ที่มากกว่าแค่แอปพลิเคชัน สั่งสินค้าแต่ยังเชื่อมต่อไปยังหุ่นยนต์ขนส่งแบบอัตโนมัติ ที่มี tracking ให้ลูกค้าได้ติดตาม และสามารถพูดคุยกับลูกค้าเมื่อส่งของได้ในอนาคต เทรนด์นี้จะกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า “Ambient Experience” แต่ตอนนี้ “Multiexperience” โฟกัสที่ประสบการณ์เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยีอย่าง Augmented Reality (AR)

           AR คือการนำเทคโนโลยีมาผสานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงและความเสมือนจริงเข้าด้วยกัน ด้วยการใช้ระบบซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ เช่น เว็บแคมคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยวัตถุเสมือนที่ว่านั้น อาจจะเป็น ภาพ วิดีโอ เสียง ข้อมูลต่าง ๆ ที่ประมวลผลมาจากคอมพิวเตอร์ มือถือ หรืออุปกรณ์สวมใส่ขนาดเล็กต่างๆ และทำให้เราสามารถตอบสนองกับสิ่งที่จำลองนั้นได้

11359 1edit

ภาพที่ 1 ภาพการใช้เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) ในเรื่องเกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์ 
ที่มา https://pixabay.com, zedinteractive

          Virtual Reality หรือ VR คือการจำลองสภาพแวดล้อมจริงและสภาพแวดล้อมจากจินตนาการ เช่น วิดิโอ ภาพ เสียง ผ่านระบบเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยต้องใช้งานผ่านอุปกรณ์นำเข้าต่างๆ เช่น ถุงมือ เมาส์ แว่นตา เป็นต้น เพื่อรับรู้ถึงแรงป้อนกลับจากการสัมผัสสิ่งต่างๆ และทำให้เราสามารถตอบสนองกับสิ่งที่จำลองนั้นได้ โดยเราสามารถนำเทคโนโลยี VR มาประยุกต์ใช้ในหลากหลายด้าน เช่น ด้านการแพทย์ (การฝึกผ่าตัดแบบเสมือนจริง) การทำเครื่อง VR เพื่อฝึกบินเชิง simulation ทางการศึกษา ด้านการบันเทิง เกมส์ ทางด้านธุรกิจ เป็นต้น เทคโนโลยี VR ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางทางด้านการศึกษา เพื่อช่วยในการจัดเรียนการสอน ช่วยสร้างประสบการณ์ผู้เรียนให้สามารถเข้าถึงเนื้อหาที่เข้าใจยากได้แบบเสมือนจริง นอกจากนี้สามารถนำเทคโนโลยีมาสร้างห้องเรียนจำลองเสมือนจริงและสร้างบรรยากาศรอบๆ .ให้เหมือนอยู่ในห้องเรียนจริงซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับ ผู้เรียนที่ต้องการเรียนรู้แบบนอกตำราและเป็นห้องเรียนที่ปลอดภัยกว่าเนื่องจากผู้เรียนไม่ได้ไปหยิบจับสิ่งของจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้อีกมากมาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย ในระบบ wifi,

          Mized Reality เทคโนโลยีเสมือนจริง (Reality) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีการเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีกลุ่มนี้สามารถตอบสนองการใช้งานได้หลากหลายจุดประสงค์ไม่ว่าเป็นด้านความบันเทิง การแพทย์ รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งการใช้งานเทคโนโลยีเสมือนจริงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานได้อย่างเห็นผลชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยี Mixed Reality (MR) คือที่สามารถแสดงผล 3 มิติ ได้ในพื้นที่จริงคล้ายกับภาพโฮโลแกรม  (Holograms) จากภาพยนตร์วิทยาศาสตร์

         11359 2

ภาพที่ 2 Virtual Reality หรือ VR คือการจำลองสภาพแวดล้อมจริงและสภาพแวดล้อมจากจินตนาการ
ที่มา https://pixabay.com, RAEng_Publications

          จากนี้ไปจนถึงปี 2571 ประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีที่ผู้ใช้รับรู้และสัมผัสกับโลกดิจิทัล รวมถึงวิธีการโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์กับโลกดิจิทัล แพลตฟอร์มการสนทนา (conversational platforms) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำหรับรูปแบบการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับโลกดิจิทัล ขณะที่ Virtual Reality (VR), Augmented Reality (AR) และ Mixed Reality (MR) ทำให้รูปแบบการรับรู้และสัมผัสกับโลกดิจิทัลเปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ทั้งในส่วนของรูปแบบการรับรู้และการมีปฏิสัมพันธ์จะนำไปสู่ประสบการณ์แบบพหุประสาทสัมผัส (Multisensory) ในหลากหลายรูปแบบ (Multimodal) มร.ไบรอัน เบิร์ก รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า “โมเดลดังกล่าวจะเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบของผู้ใช้ที่เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีไปสู่รูปแบบของเทคโนโลยีที่เรียนรู้เกี่ยวกับผู้ใช้ หน้าที่ในการแปลความหมายจะเปลี่ยนย้ายจากผู้ใช้ไปสู่คอมพิวเตอร์ ความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้ผ่านประสาทรับรู้หลายๆ ด้านของมนุษย์จะก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่มีความหลากหลายสำหรับการนำเสนอข้อมูลที่มีความแตกต่างกันในระดับที่ละเอียดลึกซึ้งมากขึ้น”

แหล่งที่มา

CAT. (2562,23 ธันวาคม). เทรนด์เทคโนโลยีที่ทั้งโลกต้องจับตา! Gartner Top 10 Strategic Technology Trends for 2020.  สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563. จาก https://www.cattelecom.com/cat/siteContent/3670/275/เทรนด์เทคโนโลยีที่ทั้งโลกต้องจับตา%21+Gartner+Top+10+Strategic+Technology+Trends+for+2020

Cloud HM. (2562,12 พฤศจิกายน). AR และ VR คืออะไร ความแตกต่างที่เหมือนกันหรือไม่?.  สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563. จาก https://www.cloudhm.co.th/community/blog/ar-vs-vr/

สำนักข่าวไทย.การ์ทเนอร์คาด 10 เทคโนโลยีมาแรงปี 63.สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563. จาก https://www.mcot.net/viewtna/5e1420a0e3f8e40af5410598

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
Multiexperience, Augmented Reality, Virtual Reality, เทคโนโลยีเสมือนจริง
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 10 กุมภาพันธ์ 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นางสาวอชิรญา ชนะสงคราม
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11359 Multiexperience การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลกดิจิทัล /article-technology/item/11359-multiexperience
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
เว็บช่วยสอน8
เว็บช่วยสอน8
Hits ฮิต (19259)
ให้คะแนน
...เว็บช่วยสอน... Cell Biology Animation http://www.johnkyrk.com John Kyrk พัฒนาเว็บไซต์นี้ขึ้น โดย ...
Be My Eyes ฝันที่เป็นจริงของผู้พิการทางสายตา
Be My Eyes ฝันที่เป็นจริงของผู้พิการทางส...
Hits ฮิต (13248)
ให้คะแนน
สำหรับผู้พิการทางสายตาแล้วนั้น สิ่งที่ยากและน่าเห็นใจที่สุดก็คืออุปสรรคมากมายเกี่ยวกับการดำรงชีวิตใ ...
มองเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในยุคดิจิทัล
มองเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในยุคดิจิทัล
Hits ฮิต (27493)
ให้คะแนน
เทคโนโลยีกำเนิดมาจากความรู้ความสามารถของมนุษย์ที่มุ่งหวังนำความรู้จากธรรมชาติวิทยามาคิดค้นและดัดแปล ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)